10 อาชญากรรม, หลอกลงทุน, call center gang, แก๊งทุนจีน, คอลเซ็นเตอร์, อาชญากรรมข้ามชาติ, ตำรวจสอบสวนกลาง, แก๊งคอลเซนเตอร์, อาชญากรข้ามชาติ, ตำรวจไซเบอร์, ลงทุนทิพย์, คริปโตเคอเรนซี, บัญชีม้า, ฟอกเงิน, พนันออนไลน์, เครือข่ายยาเสพติด, ภัยออนไลน์, มิจฉาชีพออนไลน์, อาชญากรรมข้ามชาติ, แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ, CIB, คดีลักพาตัวเรียกค่าไถ่, ลักพาตัวเรียกค่าไถ่, ลักพาตัว, คดี Virtual Kidnapping, แก๊งคอลฯเรียกค่าไถ่, แก๊งคอลเซ็นเตอร์, สน.บางรัก, อาชญากรรมกทม., ขบวนการหลอกลงทุน, คริปโต, ตำรวจไซเบอร์, บช.สอท., ฟอกเงิน, ยึดทรัพย์, ล่าทรชน, หลอกลงทุน 2024.1-4 ✓Press ✓Police ✓Thailand,ประเทศไทย,泰国

2024.4.28, ตำรวจไซเบอร์บุก 2 เหมืองบิทคอยน์ลักใช้ไฟหลวงกว่า 2 เดือน
ยึดเครื่องขุด 652 เครื่อง มูลค่ากว่า 200 ล้าน
泰国网络警察联合电力局等部门人员近日成功破获一起涉及加密货币挖矿业务的诈骗案,取缔龙仔厝府和叻丕府两个挖矿机房,查获652台挖矿机,价值2亿铢。据悉,该团伙偷用国家电力2个月,造成大约500万铢的损失。

ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท.

ตำรวจไซเบอร์บุก 2 เหมืองบิทคอยน์ลักใช้ไฟหลวงกว่า 2 เดือน
ยึดเครื่องขุด 652 เครื่อง มูลค่ากว่า 200 ล้าน
.
สืบเนื่องจากตำรวจไซเบอร์ได้สืบสวนพบว่ามีกรณีเกิดการหลอกลวงลงทุน ซื้อ หรือ เช่ากำลังขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) แบบ Cloud Mining ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยมิจฉาชีพชักชวนซื้อขายเครื่องขุดบิทคอยน์ในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมากจนน่าสงสัย และยังมีการรับฝากวางเครื่องขุดดังกล่าว โดยเก็บค่าดูแลและค่าไฟฟ้าต่ำกว่าความเป็นจริง และคาดว่าอาจจะมีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายด้วย จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
.
พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. จึงมอบหมายให้ พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 จัดเจ้าหน้าที่ออกสืบสวนกรณีดังกล่าว โดย กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สอท.1 ได้ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี จนพบข้อมูลว่า มีการซื้อขายเครื่องขุดบิทคอยน์ และรับฝากวางทำเป็นเหมืองขุดที่โรงเจของศาลเจ้าพ่อแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว
จ.สมุทรสาคร
.
ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สืบสวนหาข่าว พบว่าโรงเจดังกล่าวมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากในลักษณะผิดปกติ โดยผู้ที่ขายและรับฝากวางเครื่องขุดดังกล่าว คือนายสมหวัง (สงวนนามสกุล) จึงได้ทำการสืบต่อไปจนพบว่า นอกจากที่โรงเจของศาลเจ้าพ่อดังกล่าวแล้ว ยังพบสถานที่ที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากอย่างผิดปกติอีกหนึ่งแห่ง คือ บริเวณโกดัง 2 อาคารแห่งหนึ่ง ในพื้นที่เขาแก่นจันทร์ อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งคาดว่าเป็นการทำเหมือง
บิทคอยน์ด้วยเช่นกัน จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลออกหมายค้นทั้ง 2 จุด
.
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สอท.1 จึงได้นำกำลังบุกตรวจค้นเป้าหมายพร้อมกันทั้ง 2 จุด โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าทำการตรวจสอบด้วย จากผลการตรวจค้น พบข้อมูลดังนี้
.
จุดที่ 1 โรงเจของศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ตรวจพบเหมืองบิทคอยน์ โดยทำเป็นอาคารทึบ อยู่บริเวณโรงจอดรถของศาลเจ้าดังกล่าว มีนายสมบัติ (ขอสงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็น
ผู้ควบคุมดูแล จากการตรวจค้นพบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์สำหรับขุดบิทคอยน์ประกอบกันในลักษณะเป็นเหมืองขุด จำนวน 187 เครื่อง และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า
ยังพบว่า มีการดัดแปลงบริเวณมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าผิดปกติ
.
จุดที่ 2 โกดัง บริเวณเขาแก่นจันทร์ อ.เมือง จ.ราชบุรี พบเหมืองบิทคอยน์ ทำเป็นอาคารทึบ มีนายสมหวัง (ขอสงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นผู้ควบคุมดูแลเหมือง และมีนายนายเกียรติก้อง (ขอสงวนนามสกุล) ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลอาคารและเครื่องขุดดังกล่าว จากการตรวจค้น พบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์สำหรับขุดบิทคอยน์ประกอบกันในลักษณะเป็นเหมืองขุด จำนวน 465 เครื่อง และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พบว่ามีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าผิดปกติ
.
รวมของกลางที่ตรวจยึดได้ ดังนี้
1.เครื่องขุดบิทคอยน์ มูลค่าประมาณ 3.5 แสนบาท จำนวน 652 เครื่อง รวมมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท
2.มิเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกดัดแปลง จำนวน 2 มิเตอร์
นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป
.
จากการสอบถามเบื้องต้น นายสมบัติฯ และนายสมหวังฯ ให้ข้อมูลว่า ได้เปิดเหมืองมาแล้วประมาณ 2 เดือน ได้ประกอบการขายเครื่องขุดบิทคอยน์ โดยได้นำเข้าเครื่องมาจากประเทศจีนโดยผ่านพิธีศุลกากรถูกต้อง และนำมาจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป หากลูกค้าที่ซื้อเครื่องขุดแล้ว ตนเองจะรับฝากเครื่อง โดยคิดค่ารับฝากรวมค่าไฟฟ้า เป็นเงิน 6,200 บาท เท่านั้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ปกติแล้วเครื่องขุดบิทคอย์ดังกล่าว หากเปิดขุดตลอดทั้งเดือน จะเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 9,000 บาท ต่อ 1 เครื่อง จึงมีจุดสังเกตว่าในการรับฝากวางนั้น การคิดราคาค่าไฟฟ้าและค่าดูแลเพียง 6,200 บาท นั้นก็เพื่อจูงใจลูกค้า
.
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พบว่ามีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านมิเตอร์ไม่เต็มตามที่ใช้จริง และมีบางส่วนเป็นการต่อกระแสไฟฟ้าโดยไม่ผ่านมิเตอร์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับค่าไฟฟ้า โดยจากการคำนวณค่าไฟฟ้าที่รัฐเสียหายจากทั้ง 2 จุด พบว่ามีมูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท
.
สำหรับ Cryptocurrency หรือ สกุลเงินดิจิทัล นั้น เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการเข้ารหัส โดยใช้โค้ดคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าผ่านอินเทอร์เน็ต มีราคากลางในการซื้อขายแปรผันตามกลไกตลาด ซึ่งในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทจนเป็นกระแสสังคม และเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการเก็งกำไรในตลาด และยังเป็นหนึ่งในแผนประทุษกรรมที่มิจฉาชีพมักฉวยโอกาสหาช่องว่างในการหลอกลวงผู้เสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนให้เข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจการขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรือการเช่าหรือซื้อกำลังขุดสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เช่น Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Tether (USDT), Binance Coin (BNB), Dogecoin (DOGE) เป็นต้น
.
พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 จึงขอเตือนภัยไปยังนักขุดบิดคอยน์ที่เห็นว่าช่วงนี้ราคาคริปโตเคอเรนซี่ในตลาดมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก ในหลายๆ สกุลเงินดิจิทัล โดยเฉพาะเหรียญบิทคอยน์นั้น มีราคาแตะ 2.5 ล้านบาท ทำให้เหมาะสำหรับการลงทุนเทรดโดยใช้เครื่องขุด จึงต้องระมัดระวังในการซื้อ และการฝากวางเครื่องกับเหมืองต่างๆ อาจโดนจูงใจโดยการรับฝากในราคาที่น้อยกว่าปกติหรือไม่สมเหตุสมผลกับค่าไฟฟ้าที่แท้จริง สุดท้ายเหมืองอาจจะมีการลักไฟฟ้ามาเพื่อทำการขุดเหรียญ ซึ่งหากถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ตรวจยึด ท่านอาจจะได้รับความเสียหายจากการฝากวางเครื่องได้ หากท่านใดพบการใช้ไฟฟ้าและเหมืองบิทคอยที่ผิดปกติ สามารถแจ้งตำรวจไซเบอร์ หรือโทร 1441 ได้ทันที

ทลายเหมืองขุดเงินดิจิทัล สมุทรสาคร-ราชบุรี ยึดคอมพ์ 652 เครื่อง 2 ร้อยล้าน
29 เม.ย. 2024 เวลา 10:38 น.
ทลายเหมืองขุดเงินดิจิทัล สมุทรสาคร-ราชบุรี ยึดคอมพ์ 652 เครื่อง 2 ร้อยล้าน
บุกทลายเหมืองขุดเงินดิจิทัล Bitcoin สมุทรสาคร-ราชบุรี ยึดเครื่องขุด 652 เครื่อง มูลค่า 2 ร้อยล้าน แอบลักใช้ไฟหลวงกว่า 2 เดือน มูลค่าประมาณ 5 ล้าน
กรณีตำรวจบุกทลาย เหมืองขุดเงินดิจิทัล Bitcoin สมุทรสาคร-ราชบุรี สืบเนื่องจากตำรวจไซเบอร์ได้สืบสวนพบว่ามีกรณีเกิดการหลอกลวงลงทุน ซื้อ หรือ เช่ากำลังขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency แบบ Cloud Mining

สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยมิจฉาชีพชักชวนซื้อขายเครื่องขุดบิทคอยน์ในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมากจนน่าสงสัย และยังมีการรับฝากวางเครื่องขุดดังกล่าว

โดยเก็บค่าดูแลและค่าไฟฟ้าต่ำกว่าความเป็นจริง และคาดว่าอาจจะมีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายด้วย จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. จึงมอบหมายให้ พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 จัดเจ้าหน้าที่ออกสืบสวนกรณีดังกล่าว โดย กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สอท.1 ได้ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี จนพบข้อมูลว่า มีการซื้อขายเครื่องขุดบิทคอยน์ และรับฝากวางทำเป็นเหมืองขุดที่โรงเจของศาลเจ้าพ่อแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สืบสวนหาข่าว พบว่าโรงเจดังกล่าวมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากในลักษณะผิดปกติ โดยผู้ที่ขายและรับฝากวางเครื่องขุดดังกล่าว คือนายสมหวัง (สงวนนามสกุล) จึงได้ทำการสืบต่อไปจนพบว่า นอกจากที่โรงเจของศาลเจ้าพ่อดังกล่าวแล้ว ยังพบสถานที่ที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากอย่างผิดปกติอีกหนึ่งแห่ง คือ บริเวณโกดัง 2 อาคารแห่งหนึ่ง ในพื้นที่เขาแก่นจันทร์ อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งคาดว่าเป็นการทำเหมืองบิทคอยน์ด้วยเช่นกัน จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลออกหมายค้นทั้ง 2 จุด

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สอท.1 จึงได้นำกำลังบุกตรวจค้นเป้าหมายพร้อมกันทั้ง 2 จุด โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าทำการตรวจสอบด้วย จากผลการตรวจค้น พบข้อมูลดังนี้

เหมืองขุดเงินดิจิทัลสมุทรสาคร
จุดที่ 1 โรงเจของศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ต.หนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ตรวจพบเหมืองบิทคอยน์

เป็นอาคารทึบ
อยู่บริเวณโรงจอดรถของศาลเจ้าดังกล่าว มีนายสมบัติ (ขอสงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นผู้ควบคุมดูแล จากการตรวจค้น
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์สำหรับขุดบิทคอยน์ประกอบกันในลักษณะเป็นเหมืองขุด จำนวน 187 เครื่อง
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ยังพบว่า มีการดัดแปลงบริเวณมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าผิดปกติ
เหมืองขุดเงินดิจิทัลราชบุรี
จุดที่ 2 โกดัง บริเวณเขาแก่นจันทร์ อ.เมือง จ.ราชบุรี พบเหมืองบิทคอยน์ ทำเป็นอาคารทึบ มีนายสมหวัง (ขอสงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นผู้ควบคุมดูแลเหมือง และมีนายนายเกียรติก้อง (ขอสงวนนามสกุล) ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลอาคารและเครื่องขุดดังกล่าว จากการตรวจค้น

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์สำหรับขุดบิทคอยน์ประกอบกันในลักษณะเป็นเหมืองขุด จำนวน 465 เครื่อง
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พบว่ามีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าผิดปกติ

ของกลางตรวจยึดเหมืองขุดเงินดิจิทัล สมุทรสาคร-ราชบุรี
1.เครื่องขุดบิทคอยน์ มูลค่าประมาณ 3.5 แสนบาท จำนวน 652 เครื่อง รวมมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท
2.มิเตอร์ไฟฟ้าที่ถูกดัดแปลง จำนวน 2 มิเตอร์
นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป

จากการสอบถามเบื้องต้น นายสมบัติฯ และนายสมหวังฯ ให้ข้อมูลว่า ได้เปิดเหมืองมาแล้วประมาณ 2 เดือน ได้ประกอบการขายเครื่องขุดบิทคอยน์ โดยได้นำเข้าเครื่องมาจากประเทศจีนโดยผ่านพิธีศุลกากรถูกต้อง และนำมาจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป

หากลูกค้าที่ซื้อเครื่องขุดแล้ว ตนเองจะรับฝากเครื่อง โดยคิดค่ารับฝากรวมค่าไฟฟ้า เป็นเงิน 6,200 บาท เท่านั้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ปกติแล้วเครื่องขุดบิทคอย์ดังกล่าว หากเปิดขุดตลอดทั้งเดือน จะเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 9,000 บาท ต่อ 1 เครื่อง จึงมีจุดสังเกตว่าในการรับฝากวางนั้น การคิดราคาค่าไฟฟ้าและค่าดูแลเพียง 6,200 บาท นั้นก็เพื่อจูงใจลูกค้า

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พบว่ามีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านมิเตอร์ไม่เต็มตามที่ใช้จริง และมีบางส่วนเป็นการต่อกระแสไฟฟ้าโดยไม่ผ่านมิเตอร์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับค่าไฟฟ้า โดยจากการคำนวณค่าไฟฟ้าที่รัฐเสียหายจากทั้ง 2 จุด พบว่ามีมูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท

สำหรับ Cryptocurrency หรือ สกุลเงินดิจิทัล นั้น เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการเข้ารหัส โดยใช้โค้ดคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าผ่านอินเทอร์เน็ต มีราคากลางในการซื้อขายแปรผันตามกลไกตลาด

ซึ่งในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทจนเป็นกระแสสังคม และเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ที่ต้องการเก็งกำไรในตลาด และยังเป็นหนึ่งในแผนประทุษกรรมที่มิจฉาชีพมักฉวยโอกาสหาช่องว่างในการหลอกลวงผู้เสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนให้เข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจการขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรือการเช่าหรือซื้อกำลังขุดสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เช่น

Bitcoin (BTC),
Ethereum (ETH),
Tether (USDT),
Binance Coin (BNB),
Dogecoin (DOGE) เป็นต้น
.
พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 จึงขอเตือนภัยไปยังนักขุดบิดคอยน์ที่เห็นว่าช่วงนี้ราคาคริปโตเคอเรนซี่ในตลาดมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก ในหลายๆ สกุลเงินดิจิทัล โดยเฉพาะเหรียญบิทคอยน์นั้น มีราคาแตะ 2.5 ล้านบาท ทำให้เหมาะสำหรับการลงทุนเทรดโดยใช้เครื่องขุด จึงต้องระมัดระวังในการซื้อ และการฝากวางเครื่องกับเหมืองต่างๆ อาจโดนจูงใจโดยการรับฝากในราคาที่น้อยกว่าปกติหรือไม่สมเหตุสมผลกับค่าไฟฟ้าที่แท้จริง สุดท้ายเหมืองอาจจะมีการลักไฟฟ้ามาเพื่อทำการขุดเหรียญ ซึ่งหากถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ตรวจยึด ท่านอาจจะได้รับความเสียหายจากการฝากวางเครื่องได้ หากท่านใดพบการใช้ไฟฟ้าและเหมืองบิทคอยที่ผิดปกติ สามารถแจ้งตำรวจไซเบอร์ หรือโทร 1441 ได้ทันที

泰国网络警察联合电力局等部门人员近日成功破获一起涉及加密货币挖矿业务的诈骗案,取缔龙仔厝府和叻丕府两个挖矿机房,查获652台挖矿机,价值2亿铢。据悉,该团伙偷用国家电力2个月,造成大约500万铢的损失。

警方通过接到的线报进行深度调查,发现犯罪团伙以低于市场价格的方式销售比特币矿机,并通过收取低于实际的电费和维护费来吸引投资者,让他们陷入投资加密货币挖矿业务的骗局,从而造成很大的经济损失。

不过,这些挖矿机在运行过程中存在异常,导致电力消耗量远超正常水平。实际上,诈骗团伙是通过改造电表,让通过电表的电量远低于实际用电量,从而达到非法获利的目的。

在了解到龙仔厝府一素食工厂用电异常,警方循线前往调查,共计发现187台加密货币挖矿机,得知售卖和接收存放挖矿机业务的是一名叫颂汪的男子,因此进一步调查发现,除了素食工厂,在叻丕府直辖县也有两个仓库存在用电异常的情况,于是向法院申请搜查令对这两个仓库进行搜查,共计发现了465台挖矿机,一位名叫颂邦的男子声称是负责人,但他和颂汪一样只是销售加密货币矿机,并没有参与诈骗活动。

两地的电表都有被改造过的痕迹,从而造成电流异常,初步估计受损电力经济损失约500万铢。

颂汪和颂邦供称,他们从事销售比特币矿机业务,这些矿机都是从中国合法进口来的,然后出售给客户,客户购买后他提供场地给客户放置矿机,从中收取包括电费在内的6200铢押金。然而,按照通常情况,一台矿机每个月的电费约为9000铢,但是两人连同电费在一起一个月才收取6200铢,这无疑成为吸引投资者投资的诱惑点,截至目前,两人已经经营了2个月。

警方提醒投资者在购买和存放各种矿机设备时一定要谨慎,要小心那些远低于正常市场价格接受存放的矿场,如果发现异常,应该第一时间通知警方。

2024.4.23, รวบแก๊งหลอกลงทุนคริปโต ยึดทรัพย์ 125 ล้านบาท เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย

รวบแก๊งหลอกลงทุนคริปโต ยึดทรัพย์ 125 ล้านบาท เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย

23 เม.ย.2567 – ที่อาคารสัมมนาและฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เมืองทองธานี) พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1, พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3, พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สอท.4และ พ.ต.อ.ชัยรัตน์ วรุณโณ รอง ผบก.สอท.2 ร่วมกับ นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมายและโฆษกประจำสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว ปฏิบัติการ BLACK HAT ล่าล้างขบวนการหลอกลงทุนคริปโตตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 125 ล้าน เพื่อเตรียมเฉลี่ยคืนแก่ผู้เสียหาย”

สืบเนื่องจาก เมื่อปลายปี 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ได้รับแจ้งความจากกลุ่มผู้เสียหาย จำนวน 5 ราย ซึ่งพบว่ามีความเชื่อมโยงหลายท้องที่และมีรูปแบบแผนประทุษกรรมในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือ โดนมิจฉาชีพสร้างโปรไฟล์ปลอมแล้วหลอกลวงให้ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Cryptocurrency โดยมิจฉาชีพสร้างแพลตฟอร์มปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกผู้เสียหายว่าได้กำไรจากการลงทุน จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายนำเงินมาลงทุนเพิ่ม จนกระทั่งท้ายที่สุดไม่สามารถถอนคืนเงินลงทุนคืนได้ สร้างความเสียหายรวมกันมูลค่ากว่า 530 ล้านบาท โดยจากข้อมูลพบว่ามี 1 ในผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุโดนหลอกให้ลงทุนมากถึง 308 ล้านบาท นอกจากนี้ จากการตรวจสอบผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงในลักษณะเดียวกัน เบื้องต้นยังพบว่ามีอีกจำนวน 163 เคสไอดี รวมความเสียหายอีกประมาณ 168 ล้านบาท

ในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน บช.สอท. ได้เปิดปฏิบัติการทลาย 2 เว็บพนันออนไลน์ เครือข่าย ufabet-jcและ play.beer777 พบยอดเงินหมุนเวียนกว่า 13,000 ล้านบาทต่อปี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้หลายราย ทั้งกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ กลุ่มผู้จัดการเรื่องการเงิน จนไปถึงเจ้าของบัญชี พร้อมตรวจยึดเงินสด 117,835,200 บาท รถยนต์ PORSCHE รุ่น CAYANNE จำนวน 1 คัน มูลค่าประมาณ 8,000,000 บาท และของกลางอื่นๆ อีกหลายรายการ รวมมูลค่าทรัพย์สินกว่า 150 ล้านบาท โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าในสังกัดที่ทำการสืบสวนจับกุมและขยายผลจากกรณีดังกล่าวเรื่อยมา

ต่อมา จากการสืบสวนขยายผลและวิเคราะห์เส้นทางการเงิน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบสิ่งที่น่าสนใจ กล่าวคือเส้นทางการเงินของคดีหลอกลงทุนคริปโตดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับเส้นทางการเงินในคดีเว็บพนันออนไลน์ที่เคยเปิดปฏิบัติการจับกุมข้างต้น โดยพบว่าเงินที่ถูกหลอกลวงจากการการลงทุนคริปโตได้ถูกนำมาผ่านกระบวนการฟอกเงิน โดยมีกลุ่มคนร้ายแบ่งหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน

โดยในคดีนี้ ชุดสืบสวนสอบสวนมีข้อมูลพยานหลักฐานว่า นายกัญจน์นิพิฐ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาในคดีเว็บพนันออนไลน์ดังกล่าวข้างต้น ยังมีหน้าที่เป็นผู้จัดการทางการเงินให้แก่กลุ่มอาชญากรข้ามชาติต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงจากการฟอกเงินที่ได้จากการกระทำความผิดในหลายคดี จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อได้ว่า ทรัพย์สินที่ตรวจยึดในคดีนี้ได้มาจากการหลอกลงทุนทรัพย์สินดิจิทัล โดยผ่านกระบวนการฟอกเงินที่สลับซับซ้อนด้วยวิธีการใช้โพยก๊วนสมัยใหม่ (คริปโทเคอเรนซี) เพื่อแปลงสภาพทรัพย์สินที่ ได้มาจากการกระทำความผิด

ต่อมา พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งรัดขยายผลกรณีดังกล่าว จนนำมาสู่ปฏิบัติการ BLACK HAT ล่าล้างขบวนการหลอกลงทุนคริปโต โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ได้รายงานข้อมูลความเชื่อมโยงคดีระหว่างการหลอกลงทุนเงินดิจิทัล กับคดีการพนันออนไลน์ดังกล่าวไปยังสำนักงาน ปปง.และต่อมาสำนักงาน ปปง. ได้มีคำสั่งที่ ย.93/2567 ลงวันที่ 22 เม.ย.67 เพื่อยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวที่ เจ้าหน้าที่จึงยึดเงินสดกว่า 117 ล้านบาท พร้อมทั้งรถยนต์ Porscheจำนวน 1 คัน มูลค่า 8 ล้านบาท รวมทรัพย์สินทั้งสิ้น มูลค่ากว่า 125 ล้านบาท เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและนำมาเฉลี่ยทรัพย์คืนให้แก่ผู้เสียหายต่อไป

นอกจากนี้ ยังสามารถรวบรวมพยานหลักฐานออกหมายจับผู้ต้องหาเป็นเครือข่ายได้จำนวนมาก และได้ระดมกำลังตำรวจไซเบอร์ทั่วประเทศติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ จนสามารถจับกุมได้จำนวน 23 ราย ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและสมคบกันโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน” นำส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย

2024.4.21, 中国女学生被绑架勒索赎金案。昨天才发现这可能是一起发生在国外的虚拟绑架案。
22岁的中国女学生,有消息称她被国际呼叫中心集团扣留勒索赎金。与家长协调接回。警方透露,他们发现了许多可疑的东西。有合理的理由相信这不是绑架。
พบแล้ว! นักศึกษาหญิงชาวจีน อายุ 22 ปี หลังปรากฏข่าวถูกขบวนการคอลเซ็นเตอร์เรียกค่าไถ่ข้ามชาติ ประสานผู้ปกครองรับตัวกลับ ตำรวจเผยพบพิรุธหลายอย่าง มีเหตุน่าเชื่อว่าไม่ใช่การลักพาตัว

พบตัวแล้ว นศ.สาวจีน อ้างถูกอุ้มเรียกค่าไถ่ ส่อโอละพ่อ-ไม่ใช่ลักพาตัว

พบแล้ว นักศึกษาหญิงชาวจีน อายุ 22 ปี หลังปรากฏข่าวถูกขบวนการคอลเซ็นเตอร์เรียกค่าไถ่ข้ามชาติ ตร.พาสอบปากคำ สน.บางรัก พร้อมประสานผู้ปกครองมารับตัว จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า นักศึกษารายนี้ยังไม่ให้การในบางประเด็น และมีเหตุน่าเชื่อว่าไม่ใช่การลักพาตัว

จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า มีนักศึกษาชาวจีน อายุ 22 ปี ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข่มขู่และเรียกค่าไถ่จากครอบครัว พร้อมบังคับให้นักศึกษาเดินทางจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาในประเทศไทย ก่อนจะปรากฏข้อมูลว่า นักศึกษาคนนี้เดินทางต่อไปยัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ล่าสุด ชุดสืบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 พบตัวนักศึกษารายนี้แล้ว หลังเดินทางกลับจาก อ.ศรีราชา กลับเข้ามาพักที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ย่านบางรัก กทม. เจ้าหน้าที่จึงเข้าไปรับตัวมาสอบปากคำที่ สน.บางรัก

เบื้องต้น ชุดสืบสวนได้ประสานผู้ปกครองของนักศึกษารายนี้ เข้ามาพูดคุยซักถามข้อเท็จจริงว่า ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข่มขู่หลอกลวงจริงหรือไม่ แต่มีรายงานเบื้องต้นว่า นักศึกษารายนี้ยังไม่ให้การในบางประเด็น และมีเหตุน่าเชื่อว่าไม่ใช่การลักพาตัว ส่วนเสียงชายที่พูดข่มขู่ทางโทรศัพท์ ทำทีว่านักศึกษาสาวทำผิดกฎหมาย และอ้างว่าจะส่งคนมาติดตาม ให้ทำตามที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์สั่งนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า แฟรนไชส์ที่นักศึกษาสาวคนนี้รู้จักผ่านทางแอปพลิเคชันสนทนาชื่อดัง จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือไม่ เพราะจากภาพกล้องวงจรปิดและพยานหลักฐานทั้งหมด พบว่าตลอดระยะเวลาที่นักศึกษารายนี้เดินทางมาถึงประเทศไทย และไปยังพื้นที่ต่างๆ นั้น เป็นการเดินทางเพียงลำพัง

เบื้องต้นพนักงานสอบสวน สน.บางรัก จึงลงบันทึกประจำวันไว้ว่าพบตัวนักศึกษาแล้ว จากนั้นจะให้ผู้ปกครองมารับตัวกลับไป

สำหรับไทม์ไลน์ของนักศึกษารายนี้

13 เม.ย 67 เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ลงเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ

14 เม.ย. 67 แท็กซี่มาส่งที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ 1 คืนหลังจากนั้นเช็กเอาต์ออกจากโรงแรม และไม่ปรากฏข้อมูลว่าเดินทางไปที่ไหน

17 เม.ย. 67 เวลาประมาณ 10.00 น. โทรหาแม่เพื่อขอเงิน โดยระหว่างนั้นมีเสียงผู้ชายเข้ามาในสาย มีลักษณะข่มขู่ จากนั้นขึ้นรถแท็กซี่จากย่านลาดกระบัง กทม. ไปที่เอกมัย เพื่อขึ้นรถต่อไปยัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในช่วงเวลาประมาณ 12.40 น.

18 เม.ย. 67 เดินทางออกจากที่พักใน อ.ศรีราชา โดยมีการแวะซื้อซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ คาดว่าน่าจะถูกหลอกหรือถูกข่มขู่

19 เม.ย. 67 ขึ้นรถทัวร์จากแหลมฉบังเดินทางมาลงที่เอกมัย ช่วงเวลาประมาณ 14.46 น. และผ่านหน้าห้างสรรพสินค้าเกตเวย์เอกมัย ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. แล้วขึ้นรถแท็กซี่สีเขียวเหลืองมาส่งที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ย่านบางรัก กทม. จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงเข้าไปรับตัว

เตือนภัย คดีลักพาตัวเรียกค่าไถ่เสมือนจริง

เช้าข่าว 7 สี – กรณีนักศึกษาสาวชาวจีนที่มีข่าวว่า ถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ และเพิ่งพบตัววานนี้ อาจเป็นคดีลักพาตัวเรียกค่าไถ่เสมือนจริงในต่างประเทศที่เริ่มพบเห็นบ่อยมากในช่วงระยะหลัง ๆ

กรณีแม่ของนักศึกษาสาวชาวจีนอายุ 22 ปี เข้าแจ้งความ ขอให้ช่วยประสานงานตามหาตัวลูกสาว ที่เรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้โทรศัพท์มาบอกว่า ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์ข่มขู่และเรียกค่าไถ่ ให้ครอบครัวโอนเงินให้ โดยมีเสียงผู้ชายพูดแทรกเข้ามาข่มขู่ในสายด้วยว่า ลูกสาวตนทำผิดกฎหมายนั้น สุดท้ายเรื่องกลับจบลงแบบคดีพลิก เนื่องจากจากหลักฐานทุกอย่างที่พบ บ่งชี้ว่า ไม่ใช่คดีลักพาตัวเรียกค่าไถ่จริง แต่น่าจะเป็นคดี Virtual Kidnapping เหมือนที่เกิดขึ้นบ่อยในต่างประเทศ

คดี Virtual Kidnapping หรือ การลักพาตัวเรียกค่าไถ่เสมือนจริง มักเกิดกับเหยื่อที่เป็นนักศึกษาชาวจีน ที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากครอบครัวเหยื่อมักมีฐานะดี ที่พบบ่อยมากคือที่ประเทศออสเตรเลีย ที่มีนักศึกษาจีนไปเรียนอยู่มาก เช่นเดียวกับ สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็เคยเกิดเหตุลักษณะนี้มาแล้ว

พฤติการณ์ของคนร้าย จะอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่หลอกเหยื่อที่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาว่าทำผิดกฎหมาย เพื่อให้เหยื่อไปบอกต่อกับผู้ปกครองให้ยอมจ่ายเงิน เพื่อไม่ให้มีการดำเนินคดี หรือ ส่งตัวกลับบ้าน และที่พบบ่อยมากคือการบีบบังคับข่มขู่ให้เหยื่อหลอกผู้ปกครองว่าตนเองถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ เพื่อให้รีบจ่ายเงินไถ่ตัวให้กับคนร้าย

บ้านเราเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ก็มีเหตุแก๊งคนร้ายอุ้มนักศึกษาปริญญาโทชาวจีน หน้าร้านอาหารดัง ย่านเอกมัย ครั้งนั้นเป็นการลักพาตัวเรียกค่าไถ่จริง ๆ ซึ่งตำรวจไทยสามารถจับกุมคนร้ายได้ ส่วนคดี Virtual Kidnapping เคยมีนักศึกษาชาวไทยตกเป็นเหยื่อมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่ตัวการเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์จากกัมพูชา

ด้านตำรวจมั่นใจว่า กรณีนักศึกษาสาวชาวจีน จากออสเตรเลีย ไม่ใช่คดีลักพาตัวเรียกค่าไถ่จริง ๆ แน่ เพราะหลังจากทราบว่าเธอเดินทางมาไทย และออกจากอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มาพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่าน

กรณีนักศึกษาชาวจีนอาจเป็นคดี Virtual Kidnapping

เจาะประเด็นข่าว 7HD – กรณีนักศึกษาสาวชาวจีนที่มีข่าวว่าถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ และเพิ่งพบตัววานนี้ อาจเป็นคดีลักพาตัวเสมือนจริงที่เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศ

สุดท้ายกลายเป็นคดีพลิก กรณีแม่ของนักศึกษาสาวชาวจีนอายุ 22 ปี เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขอให้ช่วยประสานงานตามหาตัวลูกสาว ที่เรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้โทรศัพท์มาบอกว่า ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข่มขู่และเรียกค่าไถ่ ให้ครอบครัวโอนเงินให้ โดยมีเสียงผู้ชายพูดแทรกเข้ามาข่มขู่ในสายด้วยว่า ลูกสาวของทำผิดกฎหมายนั้น

จากข้อมูลการสอบสวนที่พบว่า นักศึกษาสาวได้เดินทางออกจากออสเตรเลียเข้ามาประเทศไทย และได้เดินทางต่อไปยังอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีแล้วนั้น เมื่อคืนที่ผ่านมาชุดสืบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ไล่ตรวจสอบกล้องวงจรปิดจนพบว่า นักศึกษาสาวคนนี้ออกจากพื้นที่อำเภอศรีราชา เข้ามาพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางรัก จึงไปรับตัวมาสอบปากคำที่ สน.บางรัก ก่อนประสานผู้ปกครองให้เดินทางมาพบกับลูกสาว

จากหลักฐานกล้องวงจรปิดที่พบว่านักศึกษาสาวเดินทางและเข้าพักยังที่พักต่าง ๆ ตามลำพัง จึงไม่ใช่การลักพาตัว ส่วนเสียงชายที่พูดข่มขู่ทางโทรศัพท์เป็นคนที่นักศึกษาสาวรู้จักผ่านแอปพลิเคชันวิดีโอคอลชื่อดัง ประกอบกับนักศึกษาสาวยังไม่ให้การในบางประเด็น จึงยังไม่แน่ชัดว่าเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์หรือไม่ เนื่องจากผู้ปกครองของนักศึกษาสาวไม่ประสงค์ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนสน.บางรัก จึงทำได้เพียงลงบันทึกประจำวันไว้

ด้วยผู้ปกครองไม่ประสงค์จะเอาความ จึงเป็นไปได้ว่าคดีนี้อาจเป็นคดี Virtual Kidnapping หรือการลักพาตัวเรียกค่าไถ่เสมือนจริง ซึ่งมักเกิดกับเหยื่อที่เป็นนักศึกษาชาวจีน ที่เรียนอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากครอบครัวเหยื่อมักมีฐานะดี ที่พบบ่อยมากคือที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีนักศึกษาจีนไปเรียนอยู่มาก

中国女留学生泰国遭电信诈骗团伙绑架?警方介入调查

近日,一名在澳洲留学的22岁中国女留学生的母亲向泰国春武里府是拉差警察局报案,称接到女儿电话称受到电信诈骗团伙的绑架威胁,并被索要赎金。同时,恐吓电话中一名男子声称女儿违法,会派人跟踪。经过警方深入调查,发现了一系列可疑线索,并初步判断这可能并非一起真正的绑架案件。

4月20日晚,曼谷京畿警察署专案组成功找到了该名女学生。她已从春武里府是拉差县返回,并入住曼谷挽叻区的一家酒店。警方随后前往挽叻警察局对其进行询问。

在初步调查中,专案组与该学生进行了沟通,以确认她是否确实受到了电信诈骗团伙的恐吓和绑架。然而,该学生尚未就某些疑点提供证言,警方目前有理由相信这并非一起真正的绑架案件。

警方进一步调查发现,电话中威胁女学生的男子是她通过一个聊天软件认识的,目前尚不清楚该男子是否属于电信诈骗团伙。监控录像显示,女学生在抵达泰国期间前往了多个地点,均为单独行动。

女学生的时间线显示,她于2024年4月13日从素万那普机场入境泰国。之后,她入住了一家酒店,随后于4月17日给母亲打电话要求汇款,同时电话中传出威胁声音。女学生随后前往亿甲迈乘坐车辆前往春武里府是拉差,于19日从林查班返回曼谷,最终在挽叻区的一家酒店被警方找到。目前,挽叻警察局的调查人员已经联系女学生的父母前来接她回国。

2024.4.18, ตำรวจไซเบอร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดปฏิบัติการกวาดล้างอาชญากรข้ามชาติ จับผู้ต้องหาต่างชาติ ตั้งแก๊งหลอกผู้เสียหายให้ลงทุนผ่านแพลตฟอร์มสกุลเงินคริปโตเคอเรนซี อ้างได้กำไรสูง จนท.สามารถยึดอายัดทรัพย์สินที่เชื่อว่าได้มาจากการกระทำผิดกว่า 250 ล้านบาท

ด้านสังคม
ดีอี – ตำรวจไซเบอร์ จับกุมอาชญากรข้ามโลก ตัวการแก๊ง Hybrid Scam ยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้าน เตรียมเฉลี่ยคืนแก่ผู้เสียหาย

วันนี้ (17 เมษายน 67) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมด้วย นายสุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3, พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษาผบก.สอท.4, นายวิทยา เนติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย หัวหน้าโฆษกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ คุณ Akbar A. Head of Investigation – APAC (Binance) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าว ปฏิบัติการ “The Purge” ปฏิบัติการกวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับต่างชาติตัวการแก๊ง Hybrid Scam ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้าน เตรียมเฉลี่ยคืนแก่ผู้เสียหาย

สืบเนื่องจากปฏิบัติการ “Trust No One” EP.1-5 กรณีผู้เสียหายถูกหลอกลงทุนในลักษณะ
Hybrid Scam ซึ่งคนร้ายใช้วิธีการชักชวนผู้เสียหายให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มปลอม จากนั้นให้ผู้เสียหายซื้อเงินสกุล USDT และโอนไปตามเลขกระเป๋าเงินดิจิทัลตามที่คนร้ายระบุ ก่อนที่จะถูกโอนเข้าบัญชีของแพลตฟอร์มเทรดเงินดิจิทัล เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์สืบสวนจนได้ข้อมูลที่เชื่อมโยงไปสู่คนร้ายตัวจริงที่ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลดังกล่าว คือ นายซู (Mr.Shaoxian Su) ชาวสัญชาติจีนกับพวก และยังพบเส้นทางการเงินเชื่อมโยงนอมินีที่จดทะเบียนเพื่ออำพรางการทำธุรกรรม สามารถจับกุมผู้ต้องหาสัญชาติจีน 3 ราย โดยยึดทรัพย์สินไว้ 15 รายการ ราคาประมาณ 600 ล้านบาท และได้ลงประกาศให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์คืน

ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เร่งสืบสวนขยายผล พบว่า คนร้ายใช้วิธีสุ่มติดต่อหาประชาชนผ่านแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลต่างๆ แล้วชักชวนให้เกิดความเชื่อว่าคนร้ายสอนการลงทุนเทรดคริปโตเคอเรนซีเพื่อได้ผลกำไรจริง โดยผู้เสียหายถูกชักชวนให้โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของบุคคลต่างๆ (บัญชีม้า) ที่คนร้ายอ้างว่า เป็นบัญชีตัวแทนรับแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลดิจิทัล เพื่อโอนเข้าแอปเทรดเหรียญดิจิทัล (แอปปลอม) โดยหนึ่งในผู้ร่วมขบวนการเป็นกลุ่มชาวจีน และ ชาวจีนสิงคโปร์ จนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานออกหมายจับบุคคลที่เกี่ยวข้องเอาไว้แล้ว จำนวน 26 คนและขอหมายค้นเพื่อเข้าตรวจค้นเป้าหมายสำคัญ จำนวน 4 จุด สามารถจับผู้ต้องหารายสำคัญได้ จำนวน 4 ราย คือ นายวศิษฎ์ อายุ 31 ปี, น.ส.สิรภัทร อายุ 25 ปี, นายตงเจี้ยน สัญชาติ จีน อายุ 45 ปี
และนายเว่ย คิง เคก สัญชาติ สิงคโปร์ อายุ 41 ปี โดยได้ทำการอายัดบัญชีเงินฝาก รวมถึงตรวจยึด อายัดทรัพย์สินและบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ต้องหาและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในคดีรวมมูลค่าประมาณ 252.5 ล้านบาท พร้อมส่งดำเนินการตามกฎหมายในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนอันเป็นปกติธุระโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ,ร่วมกันเป็นอั้งยี่,ร่วมกันเป็นซ่องโจร,ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ,ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติฯ และร่วมกันฟอกเงินและสมคบฟอกเงิน” นอกจากนี้ยังพบว่าเครือข่ายดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเว็บพนันออนไลน์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้ความสำคัญกับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติบริเวณชายแดน ในการดำเนินการขยายผลจับกุมทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เว็บพนันออนไลน์ ซิมผี และบัญชีม้า เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน ในการตรวจสอบ ระงับ ยับยั้ง นายประเสริฐฯ กล่าว

หากประชาชนมีข้อสงสัย สามารถโทรปรึกษาสายด่วน AOC 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

CIB กวาดล้างแก๊งหลอกลงทุนคริปโต เสียหายกว่า 250 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดปฏิบัติการกวาดล้างอาชญากรข้ามชาติ จับผู้ต้องหาต่างชาติ ตั้งแก๊งหลอกผู้เสียหายให้ลงทุนผ่านแพลตฟอร์มสกุลเงินคริปโตเคอเรนซี อ้างได้กำไรสูง จนท.สามารถยึดอายัดทรัพย์สินที่เชื่อว่าได้มาจากการกระทำผิดกว่า 250 ล้านบาท

วันนี้ (17 เม.ย.2567) เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจยึดอายัดเงินสดจำนวน 80 ล้านบาท เป็นของกลางบางส่วน ได้จากผู้ต้องหาเครือข่าย อาชญากรข้ามชาติ ที่มีพฤติกรรมชักชวนผู้เสียหาย ให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

โดยมีผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวได้ทั้ง ชาวจีน สิงคโปร์ รวมทั้งคนไทย รวม 4 คน ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และตาก โดย 2 คนไทย จะทำหน้าที่ฟอกเงิน ฝากทรัพย์สินดิจิทัล และเป็นเจ้าของบัญชี

ส่วนคนจีนคือผู้รับผลประโยชน์ และชาวสิงคโปร์ ทำหน้าที่ว่าจ้างเปิดบัญชีนิติบุคคล และบริหารจัดการทรัพย์สิน จากการออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 26 คน โดยเจ้าหน้าเข้าทำการตรวจค้น 72 จุด ทั่วประเทศ

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. เปิดเผยถึง จุดเริ่มต้นของคดี ว่าพบเส้นทางการเงินของผู้ต้องหาที่เป็นตัวการสำคัญ มีผลประกอบการไม่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพที่ผิดปกติ จึงทำการสืบสวนและขยายผล

สำหรับกลุ่มผู้ต้องหา ก่อเหตุโดยใช้วิธีการสุ่มติดต่อหาประชาชน ผ่านสื่อโซเชียลทุกแพลตฟอร์ม ก่อนจะชักชวนพูดคุยให้เกิดความน่าเชื่อถือ สอนการลงทุน เทรดคริปโตเคอเรนซี อ้างว่าจะได้ผลกำไรสูง โดยใช้บัญชีม้าเป็นช่องทางโอนเงินเข้าไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ต้องหา

เมื่อสามารถหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินมาได้ ก็จะนำเงินไปเปลี่ยนเป็นทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถหรู และเปิดบริษัท ทำธุรกิจบังหน้า กระจายไปหลายช่องทาง

นอกจากนี้กลุ่มผู้ต้องหา ยังได้นำเงินไปฟอกเงิน ที่อยู่ในรูปแบบขบวนการ พนันออนไลน์ แก๊งคอลเซนเตอร์ และไปยังกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดอีกด้วย พบเงินหมุนเวียนของเครือข่ายนี้กว่า 30,000 ล้านบาท

แนวทางการสืบสวน พบเส้นทางการทำธุรกรรมจากนายซู ผู้ต้องหาชาวสัญชาติจีน และนำไปสู่ขยายผล อายัดบัญชีเงินฝาก 40 ล้านบาท อายัดบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัล ประมาณ 150 ล้านบาท รวมมูลค่า 252 ล้านบาท

ส่วนทรัพย์สินจะนำไปเยียวยาให้กับผู้เสียหาย ที่เคยร้องเรียนขอเรียกทรัพย์คืนไปก่อนหน้านี้ เจ้าของทรัพย์ต้องมาชี้แจง กับเจ้าหน้าที่ ปปง. เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกอายัดหรือไม่ หากใช่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาสั่งคืนทรัพย์สินให้ ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

เบื้องต้นผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันมีส่วนร่วมอาชญากรข้ามชาติ และร่วมกันฟอกเงิน โดยผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา

นายวิทยา นิติธรรม โฆษกสำนักงาน ปปง. เปิดเผยถึง การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารือ โดยเฉพาะมาตรการป้องกันการเปิดบัญชีม้า อาจจะต้องเพิ่มกลไกในการตรวจสอบ และเปิดบัญชีให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น

ตำรวจไซเบอร์อายัดทรัพย์ 250 ล้านบาท อาชญากรข้ามโลก แก๊งไฮบริดสแกม หลอก-เงินดิจิทัล

ตำรวจไซเบอร์สนธิกำลังเปิดปฏิบัติการ “The Purge” กวาดล้างอาชญากรข้ามโลก รวบตัวการแก๊งไฮบริด สแกม (Hybrid Scam) ตุ๋นเงินดิจิทัล ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้านบาท ขณะที่โฆษก ปปง.แจงผู้เสียหายเข้าแจ้งทรัพย์สินที่ถูกหลอกภายใน 90 วัน หากเกินจำนวนจะเฉลี่ยตามสัดส่วนของความเสียหาย

ตำรวจทลายแก๊งไฮบริดสแกม ยึดทรัพย์กว่า 250 ล้านบาท เปิดเผยเมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 17 เม.ย. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สอท.4 นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 1 สำนักงานอัยการสูงสุด นายวิทยา เนติธรรม ผอ.กองกฎหมาย หัวหน้าโฆษกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมแถลงผลปฏิบัติการ “The Purge”กวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับกุมชาวต่างชาติตัวการแก๊งไฮบริด สแกม (Hybrid Scam) ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้าน เพื่อเตรียมเฉลี่ยคืนแก่ผู้เสียหาย

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. กล่าวว่า คดีนี้สืบเนื่องคดีที่การกระทำความผิดเชื่อมโยงกันของคดีอาญาในพื้นที่ สน.ศาลาแดง ที่ 452/2565 คดีอาญา สน.ดินแดง ที่ 462/2564 และคดีอาญาของ สภ.หนองขาม จ.ชลบุรี ที่ 727/2564 กรณีมีผู้เสียหายถูกหลอกลงทุนในลักษณะ Hybrid Scam คนร้ายใช้วิธีการชักชวนผู้เสียหายให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มปลอม จากนั้นให้ผู้เสียหายซื้อเงินสกุล USDT และโอนไปตามเลขกระเป๋าเงินดิจิทัลตามที่คนร้ายระบุ ก่อนที่จะถูกโอนเข้าบัญชีของแพลตฟอร์มเทรดเงินดิจิทัล ต่อมาตำรวจไซเบอร์สืบสวนรู้ข้อมูลที่เชื่อมโยงไปสู่คนร้ายตัวจริงที่ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลชื่อนายซูเซียน ชาวจีนกับพวก และยังพบเส้นทาง การเงินเชื่อมโยงนอมินีรูปแบบนิติบุคคลสัญชาติไทย เชื่อว่าจดทะเบียนเพื่ออำพรางการทำธุรกรรม การเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ จนนำมาสู่ปฏิบัติการ “Trust No One” EP.1-5 ตรวจค้นกว่า 72 จุดทั่วประเทศ

พล.ต.ท.วรวัฒน์กล่าวอีกว่า ตำรวจขยายผลอย่างต่อเนื่อง ในส่วนคดีอาญา สน.ดินแดง ที่ 462/2564 พบว่าคนร้ายใช้วิธีการก่อเหตุโดยอาศัยวิธีการสุ่มติดต่อหาประชาชนผ่านแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียชักชวนคุยให้เกิดความเชื่อว่าคนร้ายสอนการลงทุนเทรดคริปโตเคอเรนซีเพื่อได้ผลกำไรจริง ผู้เสียหายในเคสนี้ถูกชักชวนให้โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของบุคคลต่างๆ (บัญชีม้า) ที่คนร้ายอ้างว่าเป็นบัญชีตัวแทนรับแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นเงินสกุลดิจิทัล เพื่อโอนเข้าแอปเทรดเหรียญดิจิทัล (แอปปลอม) พบว่าปลายทางของเงินนั้นถูกนำไปผ่านกระบวนการฟอกเงินด้วยระบบการเงินใต้ดิน 1 ในผู้ร่วมขบวนการเป็นกลุ่มชาวจีน และชาวจีนสิงคโปร์เป็นผู้จ้างวานเพื่อจดทะเบียนบริษัทนอมินี และนำข้อมูลบริษัทไปเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อนำมาใช้รับเงินจากการกระทำความผิด แล้วนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้มาเปลี่ยนสภาพไปเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วโอนต่อไปหลายลำดับเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและสร้างความยุ่งยากในการสืบสวนของเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่พบหลักฐานทางการเงินที่ไม่สัมพันธ์กับฐานะของเจ้าของบัญชี และมีพยานหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรม มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวง การพนันออนไลน์ หรือยาเสพติดก็ตาม รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติต่อศาลออกหมายจับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเอาไว้แล้วจำนวน 26 คน และขอหมายค้นเพื่อเข้าตรวจค้นเป้าหมายสำคัญจำนวน 4 จุด นำมาสู่ปฏิบัติการ The Purge ปฏิบัติการกวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับผู้ต้องหารายสำคัญ 4 คน ชื่อนายตงเจี้ยน สัญชาติจีน อายุ 45 ปี ผู้รับผลประโยชน์ จับกุมที่บ้านพักในพื้นที่ หมู่ 6 ต.สันผีเสื้อ อ.เมืองเชียงใหม่

นายเว่ย คิง เคก สัญชาติสิงคโปร์ อายุ 41 ปี ผู้ทำหน้าที่จ้างวานเปิดบัญชีนิติบุคคล บริหารจัดการทรัพย์สิน จับกุมที่ลานจอดรถแห่งหนึ่งในพื้นที่ หมู่ 12 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นายวศิษฎ์ ชลอำนวย อายุ 31 ปี ผู้ทำหน้าที่ฟอกเงินผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล จับกุมบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. และ น.ส.สิรภัทร ทรวง ทองหลาง อายุ 25 ปี เป็นเจ้าของบัญชี จับกุมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สอด จ.ตาก แจ้งข้อหาในความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนอันเป็นปกติธุระโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ร่วมกันเป็นอั้งยี่ ร่วมกันเป็นซ่องโจร ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและร่วมกันฟอกเงินและสมคบฟอกเงิน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อายัดบัญชีเงินฝาก รวมถึงตรวจยึดและอายัดทรัพย์สินและบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ต้องหาและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในคดี ดังนี้อายัดบัญชีเงินฝากยอดเงินจำนวนประมาณ 40 ล้านบาท อายัดบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลมูลค่าประมาณ 150 ล้านบาท อายัดเงินสดจำนวน 80 ล้านบาท ยึดรถยนต์หรูราคา 2.5 ล้านบาท รวมมูลค่าประมาณ 252.5 ล้านบาท ต่อมาสำนักงาน ปปง. มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวที่ ย.92/2567 ลงวันที่ 17 เม.ย.67 อีกทั้งยึดเงินสดจำนวน 80 ล้านบาท จากนายสุรัตน์ นามบุญ อายุ 42 ปี และนายกันต์นภนต์ คำแดง อายุ 40 ปี ชาว อ.แม่สอด จ.ตาก ที่รับจ้างขนเงินเตรียมลำเลียงข้ามไปฝั่งเมียนมาด้าน อ.แม่สอด หากพบว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด จะถูกนำมาเฉลี่ยทรัพย์คืนให้กับผู้เสียหายที่ถูกหลอกต่อไป

“เครือข่ายดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเว็บพนันออนไลน์ มีเงินหมุนเวียนสูงถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี ตำรวจจะสืบสวนขยายผลต่อไป การปฏิบัติการในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงลงมาจากความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนภายในและต่างประเทศ สามารถจับกุมผู้ต้องหาและตรวจยึดอายัดทรัพย์สินจำนวนมาก เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและนำมาเฉลี่ยทรัพย์คืนให้แก่ผู้เสียหาย นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาคธนาคารไทยเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Homeland Security Investigation (HSI) ตลอดจนความร่วมมือจากแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล BINANCE” พล.ต.ท.วรวัฒน์กล่าว

นายวิทยา เนติธรรม ผอ.กองกฎหมาย กล่าวว่า ขั้นตอนการเฉลี่ยทรัพย์คืนจะให้โอกาสเจ้าของทรัพย์เข้ามาชี้แจงที่มาของทรัพย์ภายใน 90 วัน หากชี้แจงที่มาของเงินได้ จะต้องคืนเจ้าของทรัพย์ แต่หากทรัพย์มาจากการกระทำความผิดจะนำไปคืนให้กับผู้เสียหายที่ถูกหลอกจากขบวนการนี้ ผู้เสียหายที่ประสงค์ขอทรัพย์คืนจะต้องทำหนังสือพร้อมหลักฐานมายังสำนักงาน ปปง. จะมีการพิจารณาตรวจสอบอีก 90 วัน ก่อนจะยื่นเรื่องไปยังศาลแพ่งเพื่อตัดสินพิจารณารายชื่อ หากทรัพย์ได้มากกว่าจำนวนผู้เสียหายสามารถคืนได้ทั้งหมด แต่หากยึดมาได้น้อยกว่าจะเฉลี่ยคืนตามสัดส่วนของความเสียหาย

泰警破诈骗集团 扣押3257万资产 捕4重犯

(曼谷18日综合电)泰国国家警察总署等相关部门官员周三举行新闻发布会,公布了代号为“The Purge消灭世界各地犯罪分子”行动的结果。行动期间,泰国警方逮捕了包括中国籍在内的犯罪集团成员,冻结了涉案人员的银行账户,扣押了涉案资产和数码资产账户,总价值约2.5亿泰铢(约3257万令吉)。

该案件涉及多个关联案件,包括Saladaeng警察局刑事案件第452/2022号、Din Daeng警察局刑事案件第462/2021号,以及春武里府Nong Kham警察局刑事案件第727/2021号。在这些案件中,犯罪集团通过混合诈骗的方式,欺骗受害者投资数码货币。他们利用虚假平台诱导受害者购买泰达币,然后将其转账至犯罪分子的数码钱包中。犯罪分子随后将受害者的资金转移至加密货币交易平台账户。

泰国警方通过调查确定了使用涉案数码钱包的嫌疑人,包括中国籍苏某等人的信息。此外,警方还发现与泰国代持法人相关的财务线索。

在行动代号为“不相信任何人Trust No One”的第1-5次行动中,泰国警方在全国范围内搜查了超过72个地点。这次行动共逮捕了3名中国国籍嫌疑人,并没收了价值超过19亿泰铢(约2亿4762万令吉)的资产,包括房地产、豪华别墅、公寓、汽车、名牌产品、现金和其他物品。行动后,泰国警方将调查结果和相关意见提交给最高检察院总检察长。

总检察长同意对所有被告提出指控,随后,泰国反腐委员会办公室发布命令,扣押和冻结犯罪分子相关资产。委员会扣押了15项财产,价值约6亿泰铢(约7819万令吉),并发布公告,通知受害者提交请求,以归还在该案件中被没收的资产。

泰国警方和相关机构继续扩大调查范围。在Din Daeng警察局刑事案件第462/2021号中发现,犯罪分子通过各种社交媒体平台随机联系他人实施犯罪。他们通过游说的方式让受害者相信,自己正在教授如何投资和交易加密货币以赚取利润。

受害者被说服将资金转入不同人的银行账户,犯罪分子声称这些账户是用于将泰铢兑换成数码货币的代理账户。然而,调查发现,这些资金通过地下金融系统进行洗钱。调查还发现参与者为中国籍和新加坡华人,他们受雇代持人注册公司并使用公司信息开设银行账户,接收非法资金,然后将大部分资金转化为数码资产。

警方发现涉事公司的财务证据显示,这些资金与账户所有者的身分不符,并有证据表明这些人参与了有组织的犯罪。此外,这些人还涉嫌通过各种形式的犯罪活动,包括诈骗、网络赌博和贩毒,来获取资金并进行洗钱。

随后,泰国警方加快调查以逮捕犯罪集团,并扣押其财产。经过收集证据,警方请求法院批准对26名涉案人员发出逮捕令,并请求搜查令搜查4个重要目标,展开了一场“The Purge消灭世界各地的犯罪分子”行动。在行动中,4名重要嫌疑人被捕:

1.董某,中国国籍,45岁,是受益人之一。在清迈府直辖县San Phsuea分区6号村一处房屋内被捕。

2.Wei King Kek,新加坡籍,41岁,负责开设公司账户和管理资产。在春武里府挽腊茫县的一个停车场被捕。

3.Wasit(保留姓氏),31岁,涉足数码资产洗钱。在曼谷的Chaengwattana政府中心地区被捕。

4.Siraphat(保留姓氏),25岁,账户所有者。在达府湄索移民检查站被捕。

这些嫌疑人被指控联合冒充他人诈骗公众、从事非法经营、从事黑社会活动、使用欺诈手段篡改计算机数据或提供虚假信息对公众造成损害以及洗钱等罪名。

2024.4.12, ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบสมาชิกแก๊งทุนจีน หลอกคนไทยไปเป็นคอลเซ็นเตอร์ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พบมี 17 หมายจับติดตัว

ตำรวจสอบสวนกลาง

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบสมาชิกแก๊งทุนจีน หลอกคนไทยไปเป็นคอลเซ็นเตอร์ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พบมี 17 หมายจับติดตัว
.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมกันจับกุม นายจาหลงฯ กระทำความผิดฐาน “สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จากการบังคับใช้แรงงาน และผู้ที่สมคบกันกระทำความผิดได้ลงมือกระทำตามที่สมคบกัน, โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม เป็นธุระจัดหา พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษาหรือทางอื่นใดโดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ฯลฯ”
สถานที่จับกุม บริเวณท่าเทียบเรือในพื้นที่ ม.7 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต
.
สืบเนื่องจาก เมื่อปี 2565 ขบวนการคอลเซ็นเตอร์ ได้หาคนไทยให้มาทำงานที่ฝั่งประเทศกัมพูชา โดยหลอกลวงผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียประกาศโฆษณาว่าต้องการรับพนักงานทำงานเป็นแอดมิน คอยให้บริการตอบข้อมูลลูกค้าที่ติดต่อมายังบริษัท ค่าตอบแทนประมาณ 20,000-50,000 บาทต่อเดือน มีสวัสดิการ ที่พัก ค่ารักษาพยาบาลและจะดำเนินการเรื่องหนังสือเดินทางให้ทั้งหมด เมื่อมีผู้เสียหายหลงเชื่อก็จะมีรถไปรับ-ส่งที่ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว แต่เมื่อไปถึง กลับนำผู้เสียหายไปส่งไว้ในป่าอ้อยและให้แบกสัมภาระเดินข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา โดยใช้ข้ออ้างต่างๆ หลอกลวงให้ผู้เสียหายยอมเดินทางข้ามไป โดยผู้เสียหายส่วนหนึ่งถูกส่งไปที่ปอยเปต บางส่วนจะถูกส่งไปที่ สีหนุวิลล์ โดยจะถูกยึดโทรศัพท์ ไม่ให้ติดต่อกับญาติ
.
เมื่อไปถึงที่ทำการจะมีหัวหน้าชาวจีนและคนไทยซึ่งเป็นล่ามแปลภาษาจีน บังคับให้ทำงานเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ โดยการโทรศัพท์และแชตไลน์หลอกลวงเหยื่อซึ่งเป็นคนไทย ส่วนคนไทยรายใดหน้าตาดีก็จะถูกบังคับนำไปสู่การล่วงละเมิดหรือค้าประเวณี
.
ผู้เสียหายส่วนหนึ่งเมื่อรู้สึกว่างานที่ทำ ไม่ตรงตามที่กล่าวอ้างไว้ พยายามหาวิธีการที่จะเดินทางกลับหรือไม่เต็มใจทำงาน ขบวนการดังกล่าวจะให้ รปภ.ควบคุมตัวไว้ หรือใช้วิธีการบังคับข่มขู่ ใช้ไฟฟ้าช็อต ให้อดข้าวอดน้ำ ทำร้ายร่างกาย หรือต้องจ่ายเงินค่าปล่อยตัว มิฉะนั้นจะขายต่อให้กับบริษัทอื่น กระทั่งมีผู้เสียหายแอบติดต่อขอความช่วยเหลือมายังทางการไทยได้ ทางการไทยจึงได้ประสานความร่วมมือไปยังตำรวจกัมพูชา สนธิกำลังนำคนไทยที่ถูกหลอกลวงไปกลับมา ซึ่งจากการสอบสวนในคดีนี้ พบว่า ผู้ต้องหาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทำหน้าที่จัดหาคนไทย เพื่อส่งไปทำงานให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยผู้ต้องหารับคำสั่งจากหัวหน้าชาวจีนเป็นผู้มีส่วนร่วมในองค์กร จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลออกหมายจับ รวมกว่า 17 หมายจับ
.
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนทราบว่า ผู้ต้องหาได้หลบหนีและมาทำธุรกิจเปิดบริษัททัวร์นำเที่ยว ร่วมกันกับเครือญาติ เมื่อพบตัวผู้ต้องหา�เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าแสดงตัวทำการจับกุมตามหมายจับ จากนั้นนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.คลองหาด จ.สระแก้ว เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
.
ผลปฏิบัติภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. และ พ.ต.อ.ภัทราวุธ อ่อนช่วย ผกก.5 บก.ป.
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม พ.ต.ท.ศรัณย์ ศรีพักตร์, พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ มีมุสิก สว.กก.5 บก.ป. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ป.
.
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
มืออาชีพ เป็นกลาง เคียงข้างประชาชน

ขบวนการ ‘ไทยหลอกไทย’ แก๊งทุนจีน หลอกคนไทยเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตอบแทน 5หมื่น
13 เม.ย. 2024 เวลา 15:07

เตือนภัย! ตำรวจสอบสวนกลาง เปิดขบวนการ “ไทยหลอกไทย” รวบแก๊งทุนจีน 17 หมายจับติดตัว หลอกคนไทยเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างให้ค่าตอบแทน 50,000 บาท แถมสวัสดิการเพียบ งานโทรศัพท์ แชตไลน์หลอกลวงเหยื่อ หน้าตาดี ถูกบังคับค้าประเวณี ล่วงละเมิดทางเพศ
เตือนภัย! เปิดขบวนการ “ไทยหลอกไทย” รวบ แก๊งทุนจีน 17 หมายจับติดตัว หลอกคนไทย เป็น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อ้างให้ค่าตอบแทน 50,000 บาท แถมสวัสดิการเพียบ งานโทรศัพท์ แชตไลน์หลอกลวงเหยื่อ หน้าตาดี ถูกบังคับค้าประเวณี ล่วงละเมิดทางเพศ

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมกันจับกุม นายจาหลงฯ กระทำความผิดฐาน “สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จากการบังคับใช้แรงงาน และผู้ที่สมคบกันกระทำความผิดได้ลงมือกระทำตามที่สมคบกัน,

โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป หรือโดยสมาชิกขององค์กรอาชญากรรม เป็นธุระจัดหา พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ

ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษาหรือทางอื่นใดโดยมิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ฯลฯ”

สถานที่จับกุม บริเวณท่าเทียบเรือในพื้นที่ ม.7 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต

เปิดขบวนการ “ไทยหลอกไทย” แก๊งทุนจีน หลอกคนไทยเป็นคอลเซ็นเตอร์
สืบเนื่องจาก เมื่อปี 2565 ขบวนการคอลเซ็นเตอร์ ได้หาคนไทยให้มาทำงานที่ฝั่งประเทศกัมพูชา โดยหลอกลวงผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียประกาศโฆษณาว่าต้องการรับพนักงานทำงานเป็นแอดมิน คอยให้บริการตอบข้อมูลลูกค้าที่ติดต่อมายังบริษัท ค่าตอบแทนประมาณ 20,000-50,000 บาทต่อเดือน

มีสวัสดิการ ที่พัก ค่ารักษาพยาบาลและจะดำเนินการเรื่องหนังสือเดินทางให้ทั้งหมด

เมื่อมีผู้เสียหายหลงเชื่อก็จะมีรถไปรับ-ส่งที่ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว แต่เมื่อไปถึง กลับนำผู้เสียหายไปส่งไว้ในป่าอ้อยและให้แบกสัมภาระเดินข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา

โดยใช้ข้ออ้างต่างๆ หลอกลวงให้ผู้เสียหายยอมเดินทางข้ามไป โดยผู้เสียหายส่วนหนึ่งถูกส่งไปที่ปอยเปต บางส่วนจะถูกส่งไปที่ สีหนุวิลล์ โดยจะถูกยึดโทรศัพท์ ไม่ให้ติดต่อกับญาติ

เมื่อไปถึงที่ทำการจะมีหัวหน้าชาวจีนและคนไทยซึ่งเป็นล่ามแปลภาษาจีน บังคับให้ทำงานเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ โดยการโทรศัพท์และแชตไลน์หลอกลวงเหยื่อซึ่งเป็นคนไทย ส่วนคนไทยรายใดหน้าตาดีก็จะถูกบังคับนำไปสู่การล่วงละเมิดหรือค้าประเวณี

ผู้เสียหายส่วนหนึ่งเมื่อรู้สึกว่างานที่ทำ ไม่ตรงตามที่กล่าวอ้างไว้ พยายามหาวิธีการที่จะเดินทางกลับหรือไม่เต็มใจทำงาน ขบวนการดังกล่าวจะให้ รปภ.ควบคุมตัวไว้ หรือใช้วิธีการบังคับข่มขู่ ใช้ไฟฟ้าช็อต ให้อดข้าวอดน้ำ ทำร้ายร่างกาย หรือต้องจ่ายเงินค่าปล่อยตัว มิฉะนั้นจะขายต่อให้กับบริษัทอื่น

กระทั่งมีผู้เสียหายแอบติดต่อขอความช่วยเหลือมายังทางการไทยได้ ทางการไทยจึงได้ประสานความร่วมมือไปยังตำรวจกัมพูชา สนธิกำลังนำคนไทยที่ถูกหลอกลวงไปกลับมา

ซึ่งจากการสอบสวนในคดีนี้ พบว่า ผู้ต้องหาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทำหน้าที่จัดหาคนไทย เพื่อส่งไปทำงานให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์

โดยผู้ต้องหารับคำสั่งจากหัวหน้าชาวจีนเป็นผู้มีส่วนร่วมในองค์กร จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลออกหมายจับ รวมกว่า 17 หมายจับ

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนทราบว่า ผู้ต้องหาได้หลบหนีและมาทำธุรกิจเปิดบริษัททัวร์นำเที่ยว ร่วมกันกับเครือญาติ เมื่อพบตัวผู้ต้องหาเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าแสดงตัวทำการจับกุมตามหมายจับ จากนั้นนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.คลองหาด จ.สระแก้ว เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

4月13日,泰国中央调查局(CIB)方面透露称,有关部门人员联合之下在普吉府府治县某码头附近逮捕了名叫乍隆的男子,并指控其合谋实施人口贩卖、威胁、恐吓、绑架他人非法谋利等多项罪名。

至于此次行动,是由于自2022年起有电信诈骗团伙寻找泰国人去往邻国柬埔寨工作,自称招聘管理员负责回复顾客信息,薪资约20,000-50,000泰铢/月,包括各项福利、住宿、医疗费用及处理所有护照事宜。一旦有人上钩,便会进一步安排送至柬埔寨波贝和西哈努克,并将手机没收。

抵达办公地点后,会有中国头目和泰国翻译在场,强迫受骗人员向同胞进行电话诈骗,受害者可以支付赎金换取自由,否则会被转卖至下一家公司。

至于对此次案件的调查,泰国警方发现有泰籍籍人士受雇于中国犯罪团伙,专门负责寻找泰国人前去工作,遂积极搜集证据,前后共下发了17份逮捕令。之后,警方发现嫌疑人与亲属在普吉合伙开设了一家旅游公司,在前去将其逮捕后送至沙缴府空哈县警察局采取进一步的法律行动。

2024.3.29,泰国警方捣毁一个位于泰国南部省份洛坤府 (Nakhon Si Thammarat) 从事股票欺诈和虚假酒店预订等活动的诈骗基地。
90 held as Chinese-led scam gang busted in South
Nakhon Si Thammarat a base for operations that included stock fraud and fake hotel bookings
NAKHON SI THAMMARAT: Police have arrested 90 alleged scammers, including 55 Chinese nationals, during raids on eight locations in Chawang district of this southern province.
Police from the Cyber Crime Investigation Bureau (CCIB) and officials from other agencies took part in the raids on Thursday, in which 55 Chinese nationals and 35 Thais were arrested.
The raids took place at a hotel room, three commercial buildings, three houses and a factory in Chawang district, police said at a briefing on Friday.
More than 2,000 items were seized, including 228 computers, 1,037 mobile phones, 521 Sim cards, 80 bank passbooks, some weapons and untaxed goods. All 90 suspects were being held in police custody pending legal action and the investigation was being extended, said police.
The raids followed information that Chinese-led scam gangs had been using Nakhon Si Thammarat as their operational base, said Pol Lt Gen Thatchai Pitaneelabutr, an assistant national police chief, and Pol Lt Gen Worawat Watnakhornbancha, the CCIB commissioner, at the briefing.
The gang employed people to trick victims into investing in bogus stock trading schemes, booking non-existent hotel rooms and transferring money into the scammers’ bank accounts, police said.

泰国洛坤府破获诈骗团伙 90人被捕

泰国特案厅(DSI)和网络犯罪调查局(CCIB)及其他相关机构28日联合对洛坤府的八个地点进行突袭行动,逮捕了90名涉嫌诈骗的人,其中包括55名中国公民和35名泰国公民。

警方在周五的新闻发布会上表示,突袭行动搜查了查旺区的一间酒店房间、三栋商业建筑、三栋房屋和一家工厂。

这次行动的主要焦点是这家酒店,在那里发现了数十名中国人和泰国人为诈骗中心团伙工作。据报道,一些人告诉逮捕他们的警察,他们是从中国被骗来的,被迫为该团伙工作。

除了该酒店外,警方还对位于约3公里外的一栋豪宅和附近的一处店屋进行了单独突击搜查。这座被改造成办公室的房子里发现了20几名中国人,店屋遭到搜查时,还有更多中国人在里面。

当场查获2000多件证物,包括228台电脑、1037部手机、521张SIM卡、80本银行存折、一些武器和走私物品。警方表示,所有90名嫌疑人均被警方拘留,等待采取法律行动,调查范围正在扩大。

泰国国家警察助理局长塔猜(Thatchai Pitaneelabutr)和网络犯罪调查局专员沃拉瓦(Worawat Watnakhornbancha)在新闻发布会上表示,此次突袭行动是在有消息称邻国的诈骗团伙一直利用洛坤府作为其行动基地之后进行的。

泰国警方称,该案始于去年11月的大量投诉,该电诈团伙受到了警方的关注。经调查发现,该团伙雇佣人员诱骗受害者投资加密货币、虚假股票交易计划、在线赌博和在线购物、预订不存在的酒店房间并将资金转入诈骗者的银行账户,总损失估计达1亿泰铢。

据特案厅称,该电诈团伙人员用中文、俄语和泰语与潜在受害者聊天。还发现多名被捕中国公民护照上有经常前往柬埔寨的记录。

被捕的中国人将被指控违反移民法、从事禁止外国人从事的工作以及技术犯罪。

THAI AUTHORITIES SUPPRESS A LARGE CHINESE CALL CENTER GANG

NAKHON SI THAMMARAT – On March 29, Thai officials reported the taking down of a huge Chinese call center gang in Nakhon Si Thammarat province, which had been illegally established to defraud Thais and Chinese citizens. Officers arrested 90 people and seized computers and other devices.

Pol. Lt. Gen. Thatchai Pitanilabutr, assistant police commander, stated at a press conference at Chawang Police Station in Nakhon Si Thammarat Province that since the investigation began at the end of 2023, this operation has been carried out in coordination with 100 officials, including cyber police, DSI officers, detective police, police region 8, immigration police, and NBTC officials. They have been dispatched to seek out four targets in Nakhon Si Thammarat province.

At the time, officials discovered a large network of Chinese people forming a call centre gang in Chawang District to defraud and steal property from fellow Chinese, Japanese, Russians, and Thais through a variety of scams, including inviting them to invest in digital currencies, online gambling, tricking people into buying products by creating pages, and using various tricks to lure victims to transfer money. The officials then conducted a thorough investigation and collected evidence.

Then, on March 28, 2024, officials obtained a search warrant from the Criminal Court and conducted a simultaneous search operation at four locations, discovering both Thai and Chinese citizens working there.

They also confiscated 228 computers, 1,037 mobile phones, 4 iPads, 21 internet routers, 2 CPUs, 2 USB sticks, 521 phone SIM cards, 2 credit cards, 80 bank accounts, one long gun, and tax-evaded cosmetics.

Chinese members of call-center gang were arrested in Nakhon Si Thammarat province on March 28, 2024.

Police Lieutenant General Worawat Wattanakornbancha, Commander-in-Chief of the Royal Thai Police, stated that officers detained all 90 members of this call centre gang. During the investigation, Lin Shuozhao, a 30-year-old Chinese national, stated that he was simply an employee whose job was to wait. The big bosses at the command level are in China.

Many Chinese individuals that have joined this call center gang use passports to enter Thailand through Cambodia. Some travelled directly from China to Thailand disguised as tourists.

Furthermore, there are offers to come and work before joining forces to establish a group that defrauded victims for nearly a year. They planned and worked systematically. Thai employees will receive an average monthly salary of 20,000 baht each person, whereas Chinese personnel would earn an average of 40,000 baht per month.

Officials have accused these individuals of establishing a group to conceal the method of operation and purpose for illicit reasons, as well as conspiring with five or more people to commit an offence or commit theft.

The cyber police are now planning to expand on that by looking into the financial histories and other characteristics of each group of accused people involved in other crimes. Investigators from the Chawang Police Station held all suspects and transported them for prosecution.

2024.3.13,泰警搗毀跨國詐騙集團 涉案50億泰銖 大馬籍首腦落網

(曼谷13日訊)泰國警方破獲了一個詐騙集團,逮捕了包括兩名大馬人在內的九名嫌犯,他們涉嫌誘騙50多名受害者參與投資計劃,造成約8億泰銖(約合1億526萬令吉)的損失。

根據馬新社報道指出,受騙者被誘騙通過一個名為“Nichare”的虛假應用程序進行投資,並通過承諾輕松盈利,來誘惑投資者轉賬投資。

為了誘騙投資者投入大筆金錢,該集團在投資初期會讓投資者提現,而一旦投資者繼續投入更多金錢後,縱然賬面上盈利很高,但想要提現就會被要求支付額外費用,包括擔保費和稅款,以解鎖他們原來的投資。

經濟犯罪打擊司指揮官普提德少將指出,泰國執法人員於上周三在宋卡府的沙道縣地區逮捕該詐騙集團的首腦,被捕嫌犯是一名現年42歲的大馬男子。

“在次日,執法人員在曼谷地區逮捕另一名大馬男子和他的泰國女友(30歲)。”

他說,調查顯示,在曼谷落網的大馬男子在大馬有犯罪前科,他與女友均為一個在泰國、馬來西亞和柬埔寨運作的跨國詐騙集團的成員。

普提德說,估計該詐騙集團所詐騙的金額已超過50億泰銖(約合6億5790萬令吉)。

“根據初步調查結果,目前已知受害者達到50多人,其中大多數是女性,一些受害者一次性轉賬了1000萬(約合131萬令吉)到1500萬泰銖(約合197萬令吉),其中損失最多的一名泰國老婦女,被騙了5000萬泰銖(約合658萬令吉)。”

普提德補充說,這兩名大馬人即將面臨的控罪包括欺詐、電腦犯罪和技術犯罪,可能會被判處最高五年的監禁。

此外,他們可能還會面臨跨國有組織犯罪的指控,該罪名的最高刑期為15年監禁。

調查顯示,該集團的活動範圍橫跨東南亞多個國家,包括柬埔寨、泰國和馬來西亞,以及香港。

據信是該集團主謀的42歲馬來西亞男子經常在馬來西亞、泰國和柬埔寨之間旅行。

此外,調查人員還追查到在香港與該集團有關的IP地址和金融交易有關的證據。

普提德表示,警方已查封了84個銀行賬戶,總計超過2000萬泰銖(約合262萬令吉),以及20個加密貨幣賬戶。

“警方還查獲了33台電腦、65部手機以及一批奢侈品,包括汽車、名牌包和手表等。”

他補充說,法院迄今已經向50多名嫌犯,包括8名大馬人和一名印尼人發出逮捕令。

“我們正在尋求馬來西亞警方的合作,以追捕更多嫌犯。”

Thai police bust scam syndicate, two Malaysians among nine arrested

BANGKOK: Thailand’s police cracked down on a scam syndicate and arrested nine suspects including two Malaysians who allegedly lured more than 50 victims into an investment scheme, causing losses of about 800 million baht (RM 105.26 million).

Commander of Economic Crime Suppression Division, Pol. Maj. Gen. Puttidej Bunkrapue said a 42-year-old Malaysian man, believed to be the mastermind of the syndicate, was arrested in Sadao, Songkhla, on March 6.

Another man – a 26-year-old with a criminal record in Malaysia – along with his 30-year-old Thai girlfriend, were arrested in Bangkok the following day.

He said the arrested Malaysian men and the Thai woman were believed to be part of a transnational syndicate operating across Thailand, Malaysia, and Cambodia.

“The syndicate is estimated to have more than 5 billion baht (RM657.90 million) circulating within its network.

“Initial investigation found the syndicate lured and defrauded more than 50 victims, mostly women. Some of the victims transferred between 10 and 15 million baht at a time.

“A Thai elderly woman suffered the highest loss, at 50 million baht (RM6.58 million),” he told Bernama.

Puttidej added the two Malaysians are facing charges that include fraud, computer crimes, and technology crimes, which could result in prison sentences of up to five years.

Additionally, they may face charges of transnational organised crime, which carries a maximum sentence of up to 15 years in prison, he said.

Investigation revealed the syndicate’s reach across multiple countries in Southeast Asia including Cambodia, Thailand, and Malaysia, as well as Hong Kong.

The 42-year-old Malaysian man, believed to be the mastermind of the syndicate, frequently traveled between Malaysia, Thailand, and Cambodia. Additionally, investigators found IP addresses and financial transactions linked to the syndicate in Hong Kong.

Puttidej said police seized 84 bank accounts containing more than 20 million baht in total as well as 20 crypto accounts.

“Police also seized 33 computers, 65 mobile phones, and a collection of luxury goods, including cars, branded bags, and watches,” he said.

He added that the court issued arrest warrants for more than 50 suspects including eight Malaysians and one Indonesian allegedly involved in the syndicate.

“We are seeking cooperation from Malaysian police to hunt down more suspects,” Puttidej said.

The victims were lured to invest in a fake application called “Nichare”. The app promised easy profits and allowed initial withdrawals to build trust.

However, when victims attempted to withdraw larger amounts later, they were met with roadblocks. The scammers then pressured them to pay additional fees, including guarantee fees and taxes, supposedly to unlock their original investments.

This predatory tactic ultimately led many victims to file complaints.

2024.2.16 泰国移民局 宣布逮捕一名中国嫌疑人并将其遣返回国。今天 (2024 年 2 月 16 日) 移民局召开关新闻发布会,就根据中国当局的引渡请求逮捕一名潜逃至泰国的拥有中国和柬埔寨国籍的中国诈骗犯(男,32岁)一案进行通报。该犯与中国的同伙合作运营一个赌博网站平台诈骗受害人投资总计25亿泰铢。该男子是诈骗团伙的主要成员之一,负责宣传和吸引投资者参与赌博。2023年7月20日,天津市南开警方对该犯及其同伙立案调查。但随后中国当局调查发现,该犯已潜逃出境,并使用柬埔寨护照前往泰国。因此,他们请求泰国当局暂时逮捕该犯,并将其引渡到中国接受审判。泰国警方在收到中国方面的请求后,立即向当地法院申请逮捕令,并在曼谷沙吞区成功将其拘捕。

สตม.รวบหนุ่มแดนมังกรนักเว็บพนันแก๊งZHONGHE หลอกเหยื่อ 2,500 ล้าน หนีเข้าไทย

16 กุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ , พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา รอง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.ประพันธ์ศักดิ์ ประสานสุข ผบก.สส.สตม. , พล.ต.ต.ทรงโปรด สิริสุขะ ผบก.ตม.6 , พ.ต.อ.ธวัชชัย นรินรัตน์ ผกก.1 บก.สส.สตม. , พ.ต.ท.กฤตกรอิชณน์ คงขำ สว.ตม.จว.ปัตตานี ร่วมแถลง กก.1 บก.สส.สตม. จับกุมนายหวง อายุ 32 ปี สัญชาติจีนและกัมพูชา ผู้ต้องหาตามหมายจับระหว่างพิจารณาของศาลอาญา ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์สินของรัฐและประชาชน (ออกหมายจับผู้ร้ายข้ามแดน) นำตัวส่งพนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มาตรา 16 โดยจับกุมได้ที่แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร้องขอให้ทางการประเทศไทยจับกุมตัวชั่วคราว นายหวง อายุ 32 ปี สัญชาติจีน เพื่อส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์สินของรัฐและประชาชน อันเป็นความผิดตามมาตรา 266 ของประมวลกฎหมายอาญาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

พฤติการณ์กระทำความผิด คือ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจความมั่นคงสาธารณะนครเทียนจิน สาขาหนานไค ได้ยื่นฟ้องและดำเนินการสอบสวนนายหวง และพวก ในข้อหากระทำผิดฐานฉ้อโกง หลังจากที่สอบสวนพบว่า นายหวง สมรู้ร่วมคิดกันกับพวกเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมายโดยใช้แพลตฟอร์มการพนัน “WANHE Football” ของต่างประเทศ จัดตั้งแก๊งฉ้อโกง “ZHONGHE” ในประเทศจีน และใช้การเงินและการลงทุนเป็นข้ออ้างหลอกลวงนักลงทุน และใช้วิธีการอ้างว่า แพลตฟอร์มการพนัน “WANHE Football” เป็นโครงการการลงทุนการแข่งขันกีฬารูปแบบใหม่ ให้นักลงทุนในประเทศจีนเข้าร่วมการพนัน และได้รับผลกำไรโดยวิธี “การเดิมพันตรงกันข้าม”

นายหวง เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของแก๊งฉ้อโกงมีหน้าที่รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะและดึงดูดนักลงทุนให้เข้าร่วมการพนัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึงเมษายน 2566 นายหวง ได้ร่วมกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายหลายร้อยคน มีมูลค่าความเสียหายร่วม 500 ล้านหยวน หรือประมาณ 2,500 ล้านบาท

ต่อมาจากการรวบรวมพยานหลักฐาน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 สำนักงานอัยการประชาชนเขตหนานไค นครเมียนจิน จึงได้อนุมัติหมายจับนายหวง ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์สินของรัฐและประชาชน จากการสืบสวนของทางการสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า นายหวง ได้หลบหนีคดีเดินทางออกนอกประเทศ และได้ใช้หนังสือเดินทางกัมพูชาเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จึงได้ร้องขอให้ทางการไทยจับกุมตัวชั่วคราว นายหวง เพื่อส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน พนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาออกหมายจับนายหวง และได้ส่งหมายจับมายังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีการจับกุมได้ดังกล่าว

2024.1.13 曼谷警方周五表示,他们已从一个主要网络犯罪团伙中查获价值超过 12 亿泰铢的资产。此次行动目标是据信与 30 岁的 Thararat Singhatongsuwan 领导的网络犯罪集团有关的资产,Thararat Singhatongsuwan 于 2017 年被捕,2021年因多起欺诈案件被起诉。

1.2 BILLION BAHT IN ASSETS SEIZED IN CRACKDOWN ON ONLINE FRAUD
January 13, 2024

BANGKOK — Authorities on Friday said they have seized more than 1.2 billion baht worth of assets from a major cybercrime gang.

The operation, which involved the police, the Anti-Money Laundering Office (AMLO), and the Digital Economy and Society Ministry (DES), targeted assets believed to be linked to a cybercrime syndicate led by Thararat Singhatongsuwan, 30, who was arrested in 2021 and prosecuted in multiple fraud cases.

They were involved in various forms of fraud, including operating call center scams, making random phone calls to deceive the public, falsely claiming to be officials and tricking victims into transferring money. They also used fake bank accounts and had financial trails linked to online gambling websites.

Additionally, they engaged in online fraud through Facebook advertisements, enticing individuals to exchange Thai Baht for Chinese Yuan at rates lower than the official exchange rates. When the promised transactions did not occur, many victims were left deceived.

In this operation, the assets, which include 77 cars, 84 land title deeds, Thai and foreign currencies, and various luxury items, were confiscated during raids on 13 locations in Bangkok, Nonthaburi, and Chiang Mai provinces, cybercrime police commander Worawat Watnakhonbancha said.

The assets, which include 77 cars, 84 land title deeds, Thai and foreign currencies, and various luxury items, were confiscated.

AMLO sec-gen Theppasu Bavornchotidara said the gang used several means to dupe the victims, such as phone calls pretending to be authorities and deceiving the victims into transferring money and online posts inviting victims to invest in a foreign exchange Ponzi scheme, after which the money were laundered into real estates and online gambling accounts. In the latter case, he said 54 victims came forward and filed a complaint.

More than 3 billion baht worth of assets were believed to have been laundered by Thararat’s gang, Theppasu said. He advised victims to file a complaint to reclaim their assets within 90 days.

Thararat and her accomplices were arrested in 2021 and prosecuted in multiple fraud cases in Bangkok, Khon Kaen, and Ubon Ratchathani province.

2024.1.13 周六,清迈警方突击搜查了位于清迈湄林区的一处豪华别墅,称该豪宅内的诈骗团伙经营2个每月营业额过亿泰铢的网络赌博网站。
12 people were arrested following a raid on a luxury pool villa in Summit Green Valey in Mae Sa, Mae Rim, this morning, Jan. 13 that was being used to run an online gambling site.
Police seized 16 computers, 33 monitors, five laptops, 53 mobile phones, 28 bank books, 28 debit cards and CCTV server with an estimated value of 1 million baht. The gambling site is said to have a turnover of 100 million baht per month.

13 ม.ค. 2567 13:03 น.
ปอท.ทลายแก๊งเว็บพนัน เช่าพูลวิลล่าหรู กลางเมืองเชียงใหม่ บริการลูกค้า

ตำรวจ ปอท.บุกทลายแก๊งเว็บพนัน เช่าบ้านหรูพูลวิลล่าหรูกลางเมืองเชียงใหม่ เปิดเป็นสำนักงาน เย้ยกฎหมาย รวบ 12 แอดมิน พร้อมของกลางเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เช็กเส้นเงินพบหมุนเวียนในบัญชีกว่า 100 ล้านบาทต่อเดือน

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 67 พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท. สั่งการ พ.ต.อ.ชิษณุพงศ์ ไหวดี ผกก.3 บก.ปอท. พ.ต.ท.ชัยณรงค์ จอมเล็ก พ.ต.ท.ณรงค์ฤทธิ์ พุ่มพวง สว.กก.3 บก.ปอท. และ พ.ต.ต.ปกฉัตร สงวนแวว สว.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. นำหมายค้นศาลจังหวัดเชียงใหม่ เข้าตรวจค้นบ้านหรูพูลวิลล่า ใน หมู่บ้านซัมมิทกรีนวัลเล่ย์ ม.1 ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลังสืบทราบว่ามีกลุ่มนายทุนเว็บพนันออนไลน์ มาเช่าใช้เป็นสำนักงาน

ทันทีที่เจ้าหน้าที่ไปถึงพบภายในบ้านถูกดัดแปลงใช้เป็นสำนักงาน แบ่งออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกพบพนักงานแอดมินเว็บไซต์พนัน hengclub.win จำนวน 6 คน กำลังตอบแชตลูกค้าหรือผู้เล่นพนันออนไลน์ ส่วนอีกห้อง พบพนักงานแอดมินเว็บไซต์พนัน kapaotang.com จำนวน 6 คน กำลังนั่งตอบแชตลูกค้าเช่นเดียวกัน จึงแสดงตัวเข้าจับกุมพนักงานทั้งหมด พร้อมกับตรวจยึด คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน 16 เครื่อง จอคอมพิวเตอร์จำนวน 33 จอ โน้ตบุ๊ก 5 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 53 เครื่อง สมุดบัญชีธนาคาร 28 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 28 ใบ และ เซิร์ฟเวอร์กล้องวงจรปิด 1 เครื่อง รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ไว้เป็นหลักฐาน

สอบสวนทั้งหมดให้การรับสารภาพว่าเป็นเพียงพนักงานแอดมินเว็บไซต์พนันทั้ง 2 เว็บ ทำหน้าที่คอยให้บริการลูกค้า เบื้องต้นแจ้งข้อหา “ร่วมกันจัดให้มีการเล่นพนันออนไลน์โดยไม่รับอนุญาต” ก่อนนำตัวส่ง สภ.แม่ริม ดำเนินคดีตามกฎหมาย

รายงานข่าวแจ้งว่าจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินเว็บพนันทั้ง 2 เว็บไซต์ดังกล่าว พบเงินหมุนเวียนในระบบกว่า 100 ล้านบาทต่อเดือน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมอยู่ระหว่างขยายผลเอาผิดกลุ่มนายทุนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรายอื่นๆ ต่อไป


评论

发表回复

您的电子邮箱地址不会被公开。 必填项已用 * 标注